วิสัยทัศน์
"เป็นชุมชนน่าอยู่ ด้วยการบริหารจัดการที่ดี
ในส่วนของสังคม ชุมชนมีความปลอดภัย เข้มแข็ง มีความร่วมมือจากทุกภาค
มีพลังด้วยกีฬาก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ทุกชีวิตมีการศึกษารู้รักษาศิลปะวัฒธรรม"
ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน และระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ แนวทางการพัฒนา
1.1 ก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษา ถนน พัฒนาระบบคมนาคมขนส่งภายในตำบลและเชื่อมโยงระหว่างตำบล
1.2 พัฒนาระบบประปาหมู่บ้าน
1.3 พัฒนาระบบไฟฟ้าสาธารณะ
1.4 ก่อสร้าง ปรับปรุง และพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร อ1.5 พัฒนาระบบการสื่อสารและโทรคมนาคม
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การพัฒนาด้านการสาธารณสุข และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2.1 บริหารจัดการขยะและสิ่งปฏิกูล ส่งเสริมกิจกรรมคัดแยกขยะ
2.2 ส่งเสริมกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การพัฒนาด้านการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ พาณิชย์ การเกษตรแลอุตสาหกรรม 3.1 ส่งเสริม สนับสนุนการเรียนรู้ภาคการเกษตร ด้านการผลิต เทคโนโลยีสมัยใหม่ การแปรรูปให้แก่ ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง
3.2 ส่งเสริมให้ความรู้พัฒนาอาชีพ เพิ่มพูนทักษะ ให้แก่ประชาชน กลุ่มอาชีพตลอดจนผู้สูงอายุ ผู้พิการ ทุกภาคส่วนการผลิต
3.3 ส่งเสริมสถานที่ท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ตามศักยภาพของพื้นที่ ตลอดจนส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในตำบล
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมอันดีงาน และนันทนาการภูมิปัญญาท้องถิ่น 4.1 การส่งเสริมการศึกษาและเพิ่มช่องทางในการรับรู้ข้อมูล
4.2 การส่งเสริมกิจกรรมทางศาสนา ขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์ที่ 5 : การพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิต และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 5.1 การรักษาความสงบเรียบร้อยความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินขิงประชาชน
5.2 การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
5.3 การส่งเสริมคุณภาพชีวิตและการแก้ไขปัญหาสังคม
5.4 การป้องกันและแกไขปัญหาโรคติดต่อ
5.5 การส่งเสริมสุขภาพอนามัย กีฬาและนันทนาการ
ยุทธศาสตร์ที่ 6 : การพัฒนาด้านการเมือง และการบริหารจัดการที่ดี 6.1 ส่งเสริมการมีสาวนร่วมของประชาชนในการบริหารงานท้องถิ่น
6.2 การส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรม ในระบอบประชาธิปไตย กิจกรรมเทิดทูลสถาบัน
6.3 ส่งเสริม พัฒนาบุคลากรและการบริหารจัดการที่ดี
6.4 การพัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ และสถานที่สำหรับการปฏิบัติงาน
พันธกิจ
1. การพัฒนาตำบลให้น่าอยู่ ด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ โครงสร้างพื้นฐาน และการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรของตำบลอย่างมีระบบและประสิทธิภาพ
2. ส่งเสริมการบริหารจัดการอนุรักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3. ส่งเสริมและพัฒนาด้านการท่องเที่ยวภายในตำบล.การพัฒนาส่งเสริมอาชีพและเศรษฐกิจชุมชนการแปรรูปสินค้าการเกษตรตลอดจนถึงการตลาดให้ประชาชน สามารถพึ่งตนเองได้
4. พัฒนาระบบการศึกษาและส่งเสริมกิจกรรมการเรียนการสอน ของโรงเรียนในสังกัดและอนุรักษ์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม ปราชญ์ชาวบ้านและภูมิ ปัญญาของท้องถิ่น
5.ปรับปรุงและพัฒนาระบบการบริหารด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส ตลอดจนความมั่นคงและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
6 พัฒนาด้านการเมืองและการบริหารตามหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีโดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน